วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระบบหมุนเวียนโลหิต

การหมุนเวียนของเลือด
            อาหารที่เรากินเข้าไปเมื่อผ่านกระบวนการย่อยอาหารจะได้อนุภาคที่เล็กที่สุดซึ่งสามารถแพร่ผ่านเข้าสู่ผนังของลำไส้เล็กได้ จากนั้นจะแพร่เข้าสู่หลอดเลือด แล้วถูกนําไปยังส่วนต่างๆของร่างกายโดนระบบหมุนเวียนของเลือด เชนเดียวกับกาซออกซิเจนที่เมื่อถูกนำเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกนําไปยังเซลล์ต่างๆของร่างกายโดยเม็ดเลือดแดง และก๊าซคาร์บอนไดออกไซดที่เกิดจากกระบวนการหายใจ จะถูกลําเลียงออกจากเซลล์ทางพลาสมา ซึ่งการหมุนเวียนของเลือดและการหมุนเวียนของก๊าซจะเกิดควบคู่กันไป
ในระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วย เลือด หลอดเลือด และ หัวใจ
1.  เลือด ( blood )  ในร่างกายของคนเรามีเลือดอยู่ประมาณ 6,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร เลือดประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นของเหลว คือ น้ำเลือด ( plasma ) กับส่วนที่เป็นของแข็ง คือ เซลล์เม็ดเลือดแดง  เซลล์เม็ดเลือดขาว และ เกล็ดเลือด
    1.1  ส่วนที่เป็นของหลว  คือ น้ำเลือดหรือพลาสมา ประกอบด้วยน้ำและสารต่างๆ ซึ่งได้แก่ สารอาหารที่ถูกย่อยแล้ว รวมทั้งวิตามิน  เกลือแร่ ฮอร์โมนและสารอื่นๆที่ละลายน้ำได้ สารเหล่านี้จึงอยู่ในรูปสารละลาย มีประมาณ 50 % ของเลือดทั้งหมด น้ำเลือดทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่ถูกดูดซึมจากลำไส้เล็กไปสู่ส่วนต่างๆของเซลล์ทั่วร่างกายและลำเลียงของเสียที่เป็นของเหลวจากเซลล์ เช่น ยูเรีย มาสู่ไต ซึ่งไตจะสกัดเอาสารยูเรียออกจากเลือดแล้วขับถ่ายออกมาในรูปของปัสสาวะ
    1.2  ส่วนที่เป็นของแข็ง  มีอยู่ประมาณ 50% ของเลือดทั้งหมด ประกอบด้วย
       -  เซลล์เม็ดเลือดแดง   ในขณะที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ จะอยู่ในไขกระดูกและมีนิวเคลียส แต่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะเข้าไปอยู่ในกระแสเลือดแล้วนิวเคลียสจะหายไป เม็ดเลือดแดงทำหน้าที่ขนส่งแก๊สออกซิเจน จากปอดไปสู่เซลล์ทั่ร่างกายและขนส่งแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากการสลายอาหารจากเซลล์มาสู่ถุงลมในปอดเพื่อขับถ่ายออกนอกร่างกายทางลมหายใจออก โดยเฉลี่ยเม็ดเลือดแดงจะมีชีวิตอยู่ในกระแสเลือดประมาณ 90- 120 วัน หลังจากนั้นจะถูกส่งไปทำลายที่ตับและม้าม
       -  เซลล์เม็ดเลือดขาว  มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง ภายในมีนิวเคลียส ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
       -  เกล็ดเลือด  เป็นชิ้นส่วนของเซลล์ที่มีรูปร่างเป็นแผ่นเล็กๆปนอยู่ในน้ำเลือด ไม่มีนิวเคลียส มีหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว เวลาเกิดบาดแผลเล็กๆเกล็ดเลือดจะทำให้เส้นใย ( fibrin ) ปกคลุมบาดแผลทำให้เลือดหยุดไหล เป็นการป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียเลือดมากเกินไป เกล็ดเลือดจะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 4 วัน

2. เส้นเลือด ( blood vessels )  เส้นเลือดในร่างกายคนแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ
  -  เส้นเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ เรียกว่า อาร์เทอรี ( Artery )
  -  เส้นเลือดที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจ  เรียกว่า เส้นเวน ( Vein )
  - เส้นเลือดฝอย ( Capillaries )
    เส้นเลือดอาร์เทอรี  เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ มีขนาดต่างๆกัน ขนาดใหญ่คือ เอออร์ตา มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว และขนาดเล็กมีเส้นผ่านศูนย์กลาประมาณ 0.2 มิลลิเมตร ไม่มีลิ้น เส้นเลือดอาร์เทอรี ประกอบด้วยกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่ยืดหยุ่นได้ มีผนังหนา สามารถรับแรงดันเลือด ซึงเป็นแรงดันค่อนข้างสูง อันเป็นผลเนื่องมาจากการบีบตัวของหัวใจห้องล่าซ้าย ความดันของเลือดจะสูงมากในเส้นเลือดอาร์เทอรีใกล้หัวใจ คือ เส้นเลือดแดงใหญ่ที่สุดที่เรียกว่า เอออร์ตา และค่อยๆลดลงตามลำดับเมื่ออยู่ห่างจากหัวใจไปเรื่อยๆจนถึงอวัยะต่างๆดังนั้นการวัดความดันเลือด เส้นเลือดที่เหมาะสำหรับวัดความดันเลือดคือเส้นอาร์เทอรีที่ต้นแขน  ผู้ใหญ่อายุ 20 - 30 ปี มีความดันเลือดปกติประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ตัวเลขข้างหน้า ( 120 )หมายถึง ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว เรียกว่าความดันซิสโทลิก ( Systolie pressure ) ตัวเลขข้างหลัง( 80 ) หมายถึงความดันดลหิตของหัวใจคลายตัว เรียกว่า ความดันไดแอสโทลิก ( Diastolie pressure )
ที่เรียกว่า การจับชีพจร ซึ่งชีพจร ( pluse ) หมายถึงอัตราการเต้นของหัวใจ จงหวะการหยืดหยุ่นของเส้นเลือดอาร์เทอรีเป็นไปตามจังหวะการเต้นของหัวใจ สำหรับการเต้นของหัวใจปกติประมาณ 72 ครั้งต่อนาที แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามลักษณะต่างๆ เช่น เพศ วัย อิริยาบท โรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น

3. หัวใจ ( heart ) หัวใจจะทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย โดยจะรับเลือดที่มีออกซิเจนสูงจากปอดเข้าทางหัวใจห้องบนซ้ายผ่านต่อมายังหัวใจห้องล่างซ้าย เพื่อส่งออกไปยังอวัยวะต่างๆขอองร่างกายและจะรับเลือดที่มีออกซิเจนน้อยจากส่วนต่างๆของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจทางหัวใจห้องบนขวา และผ่านไปยังหัวใจห้องล่างขวาเพื่อส่งไปยังปอด เลือดที่มีออกซิเจนต่ำจะไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจนและกลับเข้าสู่หัวใจอีกครั้งหมุนเวียนตลอดเวลาอย่างเป็นระบบ
    หรือกล่าวได้ว่าเลือดดำ ( เลือดที่มีแก๊สออกซิเจนต่ำ )จากส่วนต่างๆ ของร่างกายไหลเข้าหัวใจทางหัวใจห้องบนขวาโดยเลือดจากส่วนบนของร่างกายจะเข้าสู่หัวใจทางเส้นเลือดซุปิเรียเวนาคาวาและเลือดจากส่วนล่างของร่างกายจะเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาทางเส้นเลือดอินพีเรียเวนาคาวา จากนั้นหัวใจห้องบนขวาจะหดตัวให้เลือดผ่านลิ้นหัวใจลงสู่หัวใจห้องล่างขวาแล้วหัวใจห้องล่างขวาจะบีบตัวให้เลือดไปเข้าไปในเส้นเลือดพัลโมนารีอาร์เทอรีจากหัวใจไปยังปอด เลือดดำจะผ่านเข้าไปในเส้นเลือดฝอยรอบๆถุงลมปอด แล้วจ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับถุงลมปอดแล้วรับแก๊สออกซิเจนเข้ามาแทนเป็นผลให้เลือดดำกลายเป็นเลือดแดง ( เลือดที่มีแก๊สออกซิเจนสูง ) แล้วไหลออกจากปอดเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้ายทางเส้นเลือดพัลโมนารีเวนจากนั้นหัวใจห้องบนซ้ายจะบีบเลือดลงไปที่หัวใจห้องล่างซ้าย เพื่อให้หัวใจห้องล่างซ้ายบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายต่อไป

ระบบขับถ่าย

ไต  มีหน้าที่ขับสิ่งที่ร่างกายไม่ได้ใช้ออกจากร่างกาย  อยู่ด้านหลังของช่องท้อง
ลำไส้ใหญ่  มีหน้าที่ขับกากอาหารที่เหลือจากการย่อยของระบบย่อยอาหารออกมาเป็นอุจจาระ 

โครงสร้างของระบบขับถ่าย 
            ไตเป็นอวัยวะที่กรองของเสียเพื่อกำจัดของเสียออกจากร่างกาย  ไตของคนมี  1  คู่  อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังระดับเอว  มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว  ต่อจากไตทั้งสองข้างมีท่อไตทำหน้าที่ลำเลียงน้ำปัสสาวะจากไตไปเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ  ก่อนจะขับถ่ายออกมานอกร่างกายทางท่อปัสสาวะเป็นน้ำปัสสาวะนั่นเอง 

การดูแลรักษาระบบขับถ่าย
             เคี้ยวอาหารให้ละเอียด  และรับประทานอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย  คือ  อาหารที่มีกากใย  เช่น  ผัก  ผลไม้  และควรดื่มน้ำให้มาก 

การกำจัดของเสียออกทางไต
            ไต  เป็นอวัยวะที่ลักษณะคล้ายถั่ว  มีขนาดประมาณ  10  กว้าง  6  เซนติเมตร  และหนาประมาณ  3  เซนติเมตร  มีสีแดงแกมน้ำตาลมีเยื่อหุ้มบางๆ  ไตมี  2  ข้างซ้ายและขวา  บริเวณด้านหลังของช่องท้อง  ใกล้กระดูกสันหลังบริเวณเอว  บริเวณส่วนที่เว้า  เป็นกรวยไต  มีหลอดไตต่อไปยังมีกระเพาะปัสสาวะ
             โครงสร้างไต  ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ  2  ชั้น  หน่วยไต  ชั้นนอก  เรียกว่า  คอร์ดเทกซ์  ชั้นในเรียกว่าเมดัลลา  ภายในไตประกอบด้วย  หน่วยไตมีลักษณะเป็นท่อขดอยู่หลอดเลือดฝอยเป็นกระจุกอยู่เต็มไปหมด ไตเป็นอวัยวะที่ทำงานหนัก  วันหนึ่งๆ  เลือดที่หมุนเวียนในร่างกายต้องผ่านมายังไต  ประมาณในแต่ละนาทีจะมีเลือดมายังไตที่  1200  มิลลิลิตร  หรือวันละ  180  ลิตร  ไตจะขับของเสียมาในรูปของน้ำปัสสาวะ  แล้วส่งต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ มีความจุประมาณ  500  ลูกบาศก์เซนติเมตร  ร่างกายจะรู้สึกปวดปัสสาวะเมื่อน้ำปัสสาวะไหลสู่กระเพาะปัสสาวะประมาณ  250  ลูกบาศก์เซนติเมตร  ใน  1  วัน  คนเราจะขับปัสสาวะออกมาประมาณ 1  –  1.5  ลิตร

 การกำจัดของเสียออกทางผิวหนัง  ในรูปของเหงื่อ  เหงื่อประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่  เหงื่อจะถูกขับออกจากร่างกายทางผิวหนัง  โดยผ่านต่อมเหงื่อซึ่งอยู่ใต้ผิวหนัง  ต่อมเหงื่อมี  2  ชนิด คือ
           1.  ต่อมเหงื่อขนาดเล็ก  มีอยู่ทั่วผิวหนังในร่างกาย  ยกเว้นท่าริมฝีปากและอวัยวะสืบพันธุ์ ต่อมเหงื่อขนาดเล็กมีการขับเหงื่อออกมาตลอดเวลา  เหงื่อที่ออกจากต่อมขนาดเล็กนี้ประกอบด้วยน้ำร้อยละ  99  สารอื่นๆ  ร้อยละ 1  ได้แก่  เกลือโซเดียม  และยูเรีย
            2.  ต่อมเหงื่อขนาดใหญ่  จะอยู่ที่บริเวณ  รักแร้  รอบหัวนม  รอบสะดือ  ช่องหูส่วนนอก  อวัยวะเพศบางส่วน  ต่อมนี้มีท่อขับถ่ายใหญ่กว่าชนิดแรกต่อมนี้จะตอบสนองทางจิตใจ  สารที่ขับถ่ายมักมีกลิ่น  ซึ่งก็คือกลิ่นตัวเหงื่อ  จะถูกลำเลียงไปตามท่อที่เปิดอยู่  ที่เรียกว่า  รูเหงื่อ

การกำจัดของเสียออกทางลำไส้ใหญ่ 
            กากอาหารที่เหลือกจากการย่อย  จะถูกลำเลียงผ่านมาที่ลำไส้ใหญ่  โดยลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่สะสมกากอาหารและจะดูดซึม  สารอาหารที่มีประโยชน์  ต่อร่างกายได้แก่  น้ำ  แร่ธาตุ  วิตามิน  และกลูโคส  ออกจากกากอาหาร  ทำให้กากอาหารเหนียวและข้นจนเป็นก้อนแข็งจากนั้นลำไส้จะบีบตัวเพื่อให้กากอาหารเคลื่อนที่ไปรวมกันที่ลำไส้ ตรง  และขับถ่ายสู่ภายนอกร่างกายทางทวารหนัก  ที่เรียกว่า  อุจจาระ 

การกำจัดของเสียทางปอด 
             ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ก๊าซและน้ำซึ่งเกิดจากการเผาผลาญอาหารภายในเซลล์จะถูกส่งเข้าสู่เลือด จากนั้นหัวใจจะสูบเลือดที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปไว้ที่ปอด  จากนั้นปอดจะทำการกรองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เก็บไว้ แล้วขับออกจากร่างกายโดยการหายใจออก

ประโยชน์ของการขับถ่ายของเสียต่อสุขภาพ 
               การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียร่างกายและช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอบด้วย  ไต  ตับและลำไส้  เป็นต้น
การปฏิบัติตนในการขับถ่ายของเสียให้เป็นปกติหรือกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์  เราไม่ควรให้ร่างกายเกิดอาการท้องผูกเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักได้
               การปัสสาวะ  ถือเป็นการขับถ่ายของเสียประการหนึ่ง  ที่ร่างกายเราขับเอาน้ำเสียในร่างกายออกมาหากไม่ขับถ่ายออกมาหรือกลั้นปัสสาวะไว้นานๆ  จะทำให้เกิดเป็นโรคนิ่วในไตหรือทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบได้
              การดื่มน้ำ  การรับประทานผักผลไม้ทุกวัน  จะช่วยให้ร่างกายขับถ่ายได้สะดวกขึ้น  การดื่มน้ำและรับประทานทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ  ตลอดจนการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารเป็นประจำจะทำให้ร่างกายขับถ่ายของเสียอย่างปกติ

ระบบหายใจ

 ระบบการหายใจ (respiratory  system)  
          ระบบการหายใจ คือ ระบบที่ประกอบด้วยอวัยวะเกี่ยวข้องกับการหายใจ 
เป็นการนำอากาศเข้าและออกจากร่างกายส่งผลให้แก๊สออกซิเจนทำปฏิกิริยากับสารอาหาร ได้พลังงาน น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ กระบวนการหายใจเกิดขึ้นกับทุกเซลล์ตลอดเวลา การหายใจจำเป็นต้องอาศัย โครงสร้าง 2 ชนิดคือ กล้ามเนื้อกะบังลม และกระดูกซี่โครง ซึ่งมีกลไกการทำงานของระบบหายใจ

:: กลไกการทำงานของระบบหายใจ ::
1. การหายใจเข้า (Inspiration) กะบังลมจะเลื่อนต่ำลง กระดูกซี่โครงจะเลื่อนสูงขึ้น ทำให้ปริมาตรของช่องอกเพิ่มขึ้น ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดลดต่ำลงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายนอกจึงเคลื่อนเข้าสู่จมูก หลอดลม และไปยังถุงลมปอด

2. การหายใจออก (Expiration) กะบังลมจะเลื่อนสูง กระดูกซี่โครงจะเลื่อนต่ำลง ทำให้ปริมาตรของช่องอกลดน้อยลง ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดสูงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายในถุงลมปอดจึงเคลื่อนที่จากถุงลมปอดไปสู่หลอดลมและออกทางจมูก

☺ สิ่งที่กำหนดอัตราการหายใจเข้าและออก คือ ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด
- ถ้าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดต่ำจะทำให้หายใจช้าลง เช่น การนอนหลับ
-ถ้าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงจะทำให้หายใจเร็วขึ้น เช่น การออกกำลังกาย